Application for TOC
การวัดค่า TOC ในการทำ Cleaning Validation ในอุตสาหกรรมยา
การวัดค่า TOC ในการทำ Cleaning Validation
ในอุตสาหกรรมยา
ในกระบวนการผลิตยา เรื่องความบริสุทธิ์ของสารตั้งต้นและสารออกฤทธิ์จะต้องมีการจัดการอย่างระมัดระวังและเหมาะสมที่สุด แต่ละโรงงานมีการผลิตยาที่หลากหลายและมีการผลิตแบบ Batch mode ดังนั้นหลังจากทำการผลิตแต่ละ Batch อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตจะต้องถูกทำความสะอาดอย่างดีและเป็นระบบ และต้องมีการตรวจสอบความสะอาด (Cleaning Validation) เพื่อทำให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดการปนเปื้อนในการผลิต Batch ต่อๆไป
การทำความสะอาดมี 2 วิธี
1. Cleaning methods: Clean in Place
CIP cleaning ( Clean in place ) เป็นการทำความสะอาดโดยไม่มีการถอดชิ้นส่วนของระบบการผลิต ระบบการทำความสะอาดจะถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ประกอบด้วย Rinsing heads , Collection tank และระบบ Recycling possibilities สำหรับ Detergents วิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานและสามารถทำ Cleaning Validation ได้ง่าย
การเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์
ในกรณีของ CIP cleaning จะใช้การเก็บตัวอย่างจากน้ำล้างสุดท้าย (Final rinse solution) ในมาวิเคราะห์หาปริมาณสารที่ปนเปื้อนในน้ำ อาจวัดด้วยเครื่อง HPLC ซึ่งจะให้รายละเอียดของปริมาณสารแต่ละชนิดที่อยู่ในน้ำตัวอย่าง แต่จะใช้เวลาในการวิเคราะห์นาน อีกวิธีที่สามารถวัดได้สะดวกและรวดเร็วกว่า คือการวัดค่า TOC
การวัดค่า TOC จะเป็นการวัดปริมาณสารอินทรีย์คาร์บอนรวมโดยไม่แยกประเภทของสารแต่ละชนิด ดังนั้นการกำหนด Limit ของสารที่ปนเปื้อนในน้ำจึงพิจารณาในลักษณะ Worst Case Scenario โดยพิจารณาว่าสารอินทรีย์ที่พบทั้งหมดมาจากสารที่มีฤทธิ์หรือมีความอันตรายสูงที่สุดทั้งหมด ดังนั้นหากค่า TOC ของน้ำ Final Rinse มีค่าต่ำกว่ากำหนด จึงมั่นใจได้ว่าการทำความสะอาดมีประสิทธิภาพดีแล้ว แต่หากค่า TOC ของน้ำ Final Rinse มีค่าสูงกว่ากำหนด แนะนำให้วิเคราะห์น้ำตัวอย่างนั้นด้วย HPLC เพื่อดูสารอินทรีย์ที่พบเป็นสารที่มีฤทธิ์อันตรายหรือไม่ ดังนั้นการวิเคราะห์น้ำ Final Rinse จึงสามารถช่วยให้วิเคราะห์ได้เร็วขึ้นและลดการใช้ของเครื่อง HPLC ได้ด้วย
ตัวอย่างผลการวัดน้ำ Final Rinse ด้วยเครื่อง TOC Analyzer
2. Cleaning methods: Clean out of Place
สำหรับ COP cleaning ( Clean out of Place ) เป็นการทำความสะอาดแบบที่ต้องถอดชิ้นส่วนของระบบการผลิตออกมาทำความสะอาด วิธีนี้ใช้แรงงานและใช้เวลามาก วิธีการทำความสะอาดไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว ข้อดีของวิธีนี้ คือใช้ค่าใช้จ่ายน้อยและสามารถการตรวจสอบเบื้องต้นด้วยสายตาได้
การเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์
การเก็บตัวอย่าจะใช้วิธี Wiping method (swab) เป็นการเก็บตัวอย่างสิ่งตกค้างที่มองเห็นได้ เช่น สารเคลือบ (Coatings) , รอยคราบ (Crusts) และวัตถุดิบที่ติดอยู่ตามซอกเล็กๆ รวมถึงสารที่ละลายได้ไม่ดี หลังจากทำการ Swab แล้วเราสามารถทำการวิเคราะห์สารปนเปื้อนได้ 2 รูปแบบ
1. นำชุด Swab ไปสกัด (extract)ในน้ำหรือตัวทำละลายแล้วนำมาวิเคราะห์หารปริมาณสารปนเปื้อน อาจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง HPLC หรือเครื่อง TOC Analyzer (กรณีวัดด้วยเครื่อง TOC Analyzer ตัวทำละลายจะต้องไม่มีองค์ประกอบของคาร์บอน)
2. กรณีใช้ชุด Swab เป็น Carbon-Free Swab สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยการวัดค่า TOC โดยตรงจากชุด Swab นั้นเลย โดยใช้ Solid Sample Module ร่วมกับเครื่อง TOC Analyzer
ตัวอย่างผลการวัดชุด Swab ด้วยเครื่อง TOC Analyzer และ Solid Sample Module